รีวิว 11 วงร็อคชั้นนำของไทยใน ยุค 90s

หากจะพูดถึงดนตรีแนว Rock ที่เกิดขึ้นในยุค 90s  – 2000s ถือว่าช่วงรุ่งเรืองเฟื่องฟูของวงการดนตรีของบ้านเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นยุคที่ได้ถือกำเนิดวงดนตรี Rock มากมายและโด่งดังสุดๆ แม้ปัจจุบันมีบางวงได้แยกย้ายกันไปตามกาลเวลาแต่ตำนานก็ยังคงอยู่ตลอดไป

วันนี้ TNN Online จะพาทุกคนไปรื้อฟื้นความจำ ที่เด็กในยุค 90s – 2000s แทบทุกคนจะต้องเคยสัมผัสและจดจำเพลงของพวกเขาได้อย่างแน่นอน 

1. 1993 หินเหล็กไฟ

** เป็นวงดนตรีแนวร็อก สังกัด อาร์เอส โปรโมชัน และเรียลแอนด์ชัวร์ โดยหินเหล็กไฟนั้นเกิดจาก 2 สมาชิกวงดิ โอฬาร โปรเจ็คเก่าคือ โป่ง ปฐมพงศ์ และ รงค์ ณรงค์ (มือเบส) ฟอร์มวงใหม่ขึ้นมาและได้ โต นำพล กับ ป็อป จักรรินทร์ มาเล่นกีต้าร์ มือกลองเป็นน้าหมาน สมาน ยวนเพ็งหนึ่งในตำนานกลองเมืองไทย 

2. 1994 โมเดิร์นด็อก ภาพจาก ModernDog

นักดนตรีกลุ่มแนวออลเทอร์นาทิฟร็อกของไทย ซึ่งเป็นวงดนตรีแรกในค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิค และเป็นหนึ่งในนักดนตรีกลุ่มแรกๆที่จุดประกายดนตรีทางเลือก (ออลเทอร์นาทิฟ) ซึ่งต่อมาแนวเพลงดังกล่าวได้รับความนิยมในประเทศไทย อย่างมากในปี พ.ศ. 2537 นำโดย ป็อด ธนชัย (ร้อง), เมธี (กีต้าร์) บ็อบ สมอัตถ์ (เบส) และ โป้ง ปวิณ (กลอง)ออกอัลบัมชุดแรก โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ ในปี พ.ศ. 2537 มีเพลงดังอย่าง มานี ,บางสิ่ง,บุษบา,หมดเวลา

ในปี พ.ศ. 2540 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 คาเฟ่ มีเพลงดังอย่าง รูปไม่หล่อ และ ติ๋ม ต่อมาอีก 4 ปี ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 Love Me Love My Life มีเพลงดังอย่าง สิ่งที่ไม่เคยบอก ,เวตาล ในปี พ.ศ. 2547 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 แดดส่อง มีเพลงดังอย่าง ตาสว่าง อีก 4 ปีต่อมาได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 ทิงนองนอย 

3. 1995 แบล็คเฮด ภาพจาก Blackhead

** ประกอบไปด้วยสมาชิก 4 คน คือ “ปู” อานนท์ สายแสงจันทร์ , “ต๋อง” สมทบ สมมีชัย ,“เอก” อภิสิทธิ์ พงษ์ชัยสิริกุล ,“ยุ่น” วิโรจน์ เจริญพิพัฒน์สิน ออกอัลบั้มชุดแรก “The Album Blackhead” ในปีพ.ศ. 2538 โดยเพลงดังอย่าง “ยืนยัน” “ทน” และ “ความทรงจำ”

ปี พ.ศ. 2540 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 “Full Flavor มีเพลงดังอย่าง หลอน , หนักหัวใคร และ I Wanna flush you

ปี พ.ศ. 2542 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 “Pure” มีเพลงดังอย่าง ยิ่งโตยิ่งสวย , อยู่ไปไม่มีเธอ , รักเธอกับฟักทอง และ อย่าเสียน้ำตา

ปี พ.ศ. 2543 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 “Basic” มีเพลงดังอย่าง รักคือ ,ยอมรับ ,ใจฉันอยู่กับเธอ และ เหล้าจ๋า

ปี พ.ศ. 2546 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 “Handmade” มีเพลงดังอย่าง ไม่เป็นไร ,ฉันอยู่ตรงนี้ และ เหตุผล

ปี พ.ศ. 2548 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 6 “Ten”มีเพลงดังอย่าง ใจร้าย และ ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด

4. 1995 สไมล์บัฟฟาโล่ ภาพจาก Smile Buffalo

** เป็นวงดนตรีแนวออลเทอร์นาทิฟร็อกชาวไทย มีชื่อเรียกวงเป็นภาษาไทยว่า “ยิ้มสิ ไอ้ควาย” โดยเป็นการรวมตัวของนักดนตรี 4 คน คือ ประดิษฐ์ วรสุทธิพิสิทธิ์, ธีรภัค มณีโชติ, พนัส อภิชาติพงศ์บุตร และ วรเชษฐ์ เอมเปีย มีผลงานสตูดิโออัลบั้มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 ในชื่อชุด SMILE BUFFALO ทำให้เพลง “ดีเกินไป” และ “ฟ้ายังฟ้าอยู่” กลายเป็นเพลงโด่งดังที่สุดของวง จากนั้นมีผลงานเพลงตามมาอีก 4 ชุด ก่อนจะแยกวงออกไป 

โดยภายหลัง ประดิษฐ์ และ ธีรภัค ได้ตั้งวงใหม่ชื่อ “Sniper” ส่วน พนัส และ วรเชษฐ์ ยังคงมีผลงานเพลงออกมาอีกในชื่อเดิม และยังมีผลงานเดี่ยวของสมาชิกแต่ละคนด้วย 

5. 1996 โลโซ

**จุดเริ่มต้นของวงโลโซเริ่มเกิดขึ้นจาก (เสก) เสกสรรค์ ศุขพิมาย ได้ตระเวนเล่นดนตรีอาชีพตามผับในหลายจังหวัด จากนั้นก็ได้เจอกับเพื่อนนักดนตรีอาชีพเดียวกันอย่าง (รัฐ) อภิรัฐ สุขจิตร์  และ (ใหญ่) กิตติศักดิ์ โคตรคำ ซึ่งมีความรักในสิ่งเดียวกันจึงได้ตกลงคุยกันและร่วมกันก่อตั้งวงในนาม “โลโซ”

ต่อมา แท่ง ศักดิ์สิทธิ์ ก็ได้แนะนำเพลงไปเสนอกับค่ายมอร์ มิวสิกในเครือแกรมมี่ จึงได้ออกอัลบั้มแรกในชื่อว่า Lo Society ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2539 มีเพลงในอัลบั้มอย่างเพลง ฉันหรือเธอ (ที่เปลี่ยนไป), ไม่ต้องห่วงฉัน, เราและนาย, ไม่ตายหรอกเธอ, อยากบอกว่าเสียใจ, คุณเธอ อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายและได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากแฟนเพลงชาวไทย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 วงโลโซก็ได้มีผลงานอัลบั้มพิเศษในชื่อ LOSO Special ซึ่งเป็นอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง จักรยานสีแดง ที่ได้ซูเปอร์สตาร์สุดฮอตในยุคนั้นอย่าง มอส ปฏิภาณ และ ทาทา ยัง เป็นคู่พระนางในเรื่อง มีเพลงอย่าง จักรยานสีแดง ซึ่งเป็นเพลงสุดฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองเลยทีเดียว ในอัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากทั้ง ๆ ที่อัลบั้มนี้มีเพลงเพียง 5 เพลงเท่านั้น 

6. 1997 บิ๊กแอส

** ก่อนที่จะมาเป็นบิ๊กแอส เริ่มมาจาก อ็อฟ พูนศักดิ์ และ หมู อภิชาติ 2 มือกีต้าร์เพื่อนร่วมชั่นเรียนมัธยมตั้งวงดนตรีขึ้นมา และแยกย้ายไปศึกษาระดับอาชีวะจึงได้รู้จัก แด๊ก เอกรัตน์ (ร้อง) และ ต้น เอกรัตน์ (เบส) จึงฟอร์มวงด้วยกันทำเพลง และได้ กบ ขจรเดช น้องชายของหมูมาตีกลอง ออกอัลบั้มชุดแรกปี 2540 โดยมีเพลงดังอย่าง “ทางผ่าน” จากนั้นในปีต่อๆมาก็ได้ออกอัลบั้มชุดใหม่มาเรื่อยๆ มีเพลงดังมากมาย เช่น รักเขาให้เท่าฉัน , เธอเก็บฉันไว้ทำไม , เหตุผลง่าย ๆ , ทิ้งไว้ในใจ , คนไม่เอาถ่าน , คนหลงทาง, พรหมลิขิต , เล่นของสูง , ฝุ่น

ต่อมามีข่าวว่า แด๊ก อดีตนักร้องนำได้ออกจากวง และได้เจ๋ง เดชา โคนาโล มาทำหน้าที่ร้องนำแทน 

ภาพจาก LABANOON

7. 1998 ลาบานูน 

** เป็นวงดนตรีสัญชาติไทยมุสลิมจากอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เกิดจากการเข้าร่วมประกวดในโครงการฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ และผ่านเข้าไปในรอบ 10 วงสุดท้าย ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ จากค่ายมิวสิกบักส์ หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินจึงชักชวนมาร่วมงาน ลาบานูน มีผลงานอัลบั้มเพลงทั้งหมด 7 อัลบั้ม ได้แก่ นมสด (พ.ศ. 2541), 191 (พ.ศ. 2542) คนตัวดำ (พ.ศ. 2545) Clear (พ.ศ. 2546) สยามเซ็นเตอร์ (พ.ศ. 2548) 24 ชั่วโมง (พ.ศ. 2549) และ Keep Rocking (พ.ศ. 2555) หลังจากพักงานดนตรี ในปี พ.ศ. 2557 พวกเขาย้ายมาอยู่สังกัดจีนี่เรคอร์ด และออกซิงเกิลทั้งหมด 5 เพลงคือ ศึกษานารี ,พลังงานจน ,เชือกวิเศษ ,แพ้ทาง และ พนักงานดับเพลิง ซึ่งจะอยู่ในอัลบั้มใหม่ชื่อว่า N.E.W.S. (พ.ศ. 2559) 

8. 1998 ซิลลี่ฟูลส์

** เรียกว่าเป็นสุดยอดวงร็อคเบอร์ 1 ของประเทศมีสมาชิก 4 หนุ่ม โต, ต้น, หรั่ง และ เต้ย ก่อตั้งวงขึ้นในปี พ.ศ. 2539 ต่อมาได้นำเดโมไปเสนอกับค่ายเบเกอรี่มิวสิค ซึ่งทางค่ายดังกล่าวให้ทำแค่อัลบั้มอีพีและร่วมโครงการ Bakery Sampler กับอีก 2 วง ได้แก่วง วิเศษนิยม กับวง สโตนโซล ซึ่งเป็นอัลบั้มทดลองขาย ซึ่งถ้าอัลบั้มดังกล่าวขายได้ถึงสองหมื่นชุด วงจะได้เซ็นกับทางค่าย แต่ทว่ายอดขายอัลบั้มกลับไม่เข้าเป้าที่วางไว้ ทำให้วง ซิลลี่ ฟูลลิช ไม่ได้ร่วมงานกับค่ายเบเกอรี่มิวสิค ต่อมาต้นได้เปลี่ยนชื่อวงจาก ซิลลี่ ฟูลลิช เป็น ซิลลี่ ฟูลส์ เนื่องจากเหตุผลที่ว่าชื่อเก่ายาวเกินไป 

9. 1999 กะลา

** กะลา เป็นวงดนตรีแนวซอฟต์ร็อก มีสมาชิกที่เป็นแกนหลักของวงได้แก่ หนุ่ม ยุทธพงษ์ นักร้องนำและหัวหน้าวงที่มีเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์ โดยวงเป็นที่รู้จักจากการเข้าประกวดวงดนตรีมัธยม ฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2540 แต่ตกรอบ 30 วงสุดท้ายซึ่งวง ลาบานูน ก็ได้ผ่านเข้ารอบสิบวงสุดท้าย ต่อมากะลาได้กลับมาประกวดฮอตเวฟมิวสิคอวอร์ตส์ครั้งที่ 3 และเข้ารอบ 10 วงสุดท้าย จนได้รับการชักชวนจากทางแกรมมี่ 

10. 2544 Clash

** รวมวงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ตั้งแต่สมาชิกทั้ง 5 คนยังเป็นนักเรียนโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้ชื่อวงของตนว่า ลูซิเฟอร์ เพื่อเข้าประกวดการแข่งขันรายการดนตรีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ (Hot Wave Music Awards) ครั้งที่ 2 และ 3 ในครั้งที่ 3 วงลูซิเฟอร์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง โดยใช้เพลง “อย่าทำอย่างนั้น” ของจิระศักดิ์ ปานพุ่มและเพลง”เมื่อรักฉันเกิด ของซิลลี่ฟูลส์”

 

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ได้ออกอัลบั้มลำดับที่ 2 ในชื่อ ซาวด์เชก ในอัลบั้มนี้พวกเขามีส่วนร่วมมากขึ้นตั้งแต่การประพันธ์จวบจนการบันทึกเสียง ซิงเกิลจากอัลบั้มนี้ได้แก่ “เธอจะอยู่กับฉันตลอดไป” “ขอเช็ดน้ำตา” และ “หนาว” 

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 แคลชได้ออกอัลบั้มชุดที่ 7 ในชื่อ ไนน์มิสยูทู เพลงเด่นจากอัลบั้มนี้ได้แก่เพลง “ลางสังหรณ์” ซึ่งออกเผยแพร่มิวสิกวิดีโอวันที่ 17 พฤษภาคมในปีเดียวกัน และ “เพลงสุดท้าย” ซึ่งเปิดโอกาสให้แฟนเพลงเข้าร่วมขับร้องกว่า 70 คนเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553